วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เสี้ยวหนึ่งของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ต่อเนื่องจากเมื่อวานที่ผู้มีพระคุณของผมได้ให้อ่านหนังสือของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งพระองค์เป็นโอรสลำดับที่ 57 ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ทรงมีคุณูปการหลายๆ ด้านแก่ประเทศไทยของเรา ที่เด่นมากๆ (เท่าที่ผมจำได้)ก็คือการก่อตั้ง"พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติและก็หอสมุดแห่งชาติ"ซึ่งสองสิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นฐานหลักในการสร้างแนวคิดของประชาชนในประเทศเพราะถ้าเรา"รับรู้และเข้าใจประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของเราได้เป็นอย่างดี จะสามารถทำให้เรามองอนาคตของชาติได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น" ซึ่งในตอนก่อตั้งนั้นผู้มีพระคุณของผมได้เมตตาเล่าว่าพระองค์(สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ)ทรงพระนิพนธ์หนังสือต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมากส่วนหนึ่งก็คือผลงานของข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำเอาประวัติคุณงามความดีที่ข้าราชการผู้นั้นได้ทำผ่านมาในระหว่างที่รับราชการอยู่จนได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ในระดับชั้นต่างๆ ซึ่งข้อมูลตรงนี้ทางราชการมีและสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ได้ทรงรวบรวมและทำเป็นหนังสือที่ระลึกให้ในวาระที่ข้าราชการผู้นั้นได้เสียชีวิต ซึ่งถ้าผมเข้าใจไม่ผิดสิ่งที่พระองค์ทรงทำนี้เป็นต้นแบบของการทำหนังสือที่ระลึกงานศพให้แก่ข้าราชการท่านต่างๆ ที่เสียชีวิตและน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่บุคคลทั่วไปได้นำมาเป็นต้นแบบการทำหนังสืองานศพในยุคต่อๆ มาตราบจนปัจจุบันนี้

ประวัติและผลงานของข้าราชการในยุคนั้นที่ถือได้ว่าเป็นยุคพลิกแผ่นดินไทยให้เป็นที่ยอมรับแก่นานาชาติ นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ในยุคทองยุคหนึ่งของการสร้างชาติไทย และคุณูปการที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงนิพนธ์งานเขียนชิ้นต่างๆ ไว้นั้นที่ได้บรรจุอยู่ในหอสมุดแห่งชาติในตอนก่อตั้งก็คือว่าเป็นพงศาวดารในการสร้างชาติในยุคนี้ก็ว่าได้

ในส่วนของการเขียนของงานนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ นั้นหญิงเหลือ ซึ่งเป็นนามลำลอง(ชื่อเล่น)ของ หม่อมเจ้าพัฒนายุ ดิศกุล ธิดาในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ เป็นผู้แต่งขึ้นตามคำบอกเล่าและบทบันทึกที่สมเด็จฯ ได้ทรงบันทึกไว้ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่หลายๆ ท่านที่ผมได้รู้จักก็ใช้วิธีนี้เช่นเดียวกัน เพราะว่ายิ่งเป็นผู้ใหญ่ถ้าไม่ได้อยู่ในสายงานวิชาการแล้วจะให้เขียนอะไรยาวๆ เป็นไปไม่ได้เลยดังนั้นจะใช้วิธีหา ghost writer เป็นผู้เขียนแทน ในกรณีของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ก็คือธิดาของพระองค์นั่นเอง ผู้ที่เป็นสายโลหิตหรือญาติถ้าได้เป็น ghost writer ให้ถือได้ว่างานเขียนนั้นๆ แทบจะไม่มีการแต่งเติมอะไรที่เกินจริงเพราะว่าได้มีความสัมพันธ์มีแนวคิดและได้ประสบกับเหตุการณ์บางเรื่องโดยตรง งานนิพนธ์สำคัญๆ อีกหลายๆ ชิ้นหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลเป็นผู้นิพนธ์ให้สมเด็จฯ ท่านแต่ว่าส่วนมากหม่อมเจ้าท่านจะดูแลงานในส่วนอื่นมากกว่างานเขียน

งานนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพมักจะเป็นงานเขียนก็เก็บข้อมูลที่เป็น"คุณงามความดี"เป็นหลักเรื่องอื่นๆ ที่ตรงกันข้ามหรือเรื่องเกี่ยวกับกรณีพิพาทต่างๆ จะไม่มีบันทึกเอาไว้ซึ่งถ้ามองในมุมของการเก็บบันทึกประวัติศาสตร์ก็ถือได้ว่าไม่ครบมุมแต่ถ้ามองในกรณีของการฝึกคนให้มี positive thinking กับการฝึกให้คนจับดีกันแล้วนับว่าดีมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสะท้อนมุมมองในการมองโลกของสมเด็จฯ ท่านไว้ได้อย่างชัดเจนว่าพระองค์ทรงมองโลกในแง่ที่ดีมากๆ ทำให้ไม่แปลกใจเลยที่สมเด็จฯ ท่านได้สร้างสิ่งที่่ดีงามต่างๆ มอบไว้ให้กับประเทศนี้เยอะแยะมากมาย เช่นการต่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ดังนั้นเรื่องราวที่พระองค์่ท่านทรงนิพนธ์ไว้ควรที่จะได้รับการศึกษาสืบต่อไปและประวัติในเรื่องต่างๆ ของพระองค์ท่านควรที่จะได้รับการจดจำไว้ตราบนานเท่านาน ที่สำคัญที่สุดพระองค์ท่าน "ฝึกคนเป็น"แม้จะต้องย้ายไปทำงานในหน่วยงานอื่นๆ ก็จะไม่เอาลูกน้องเดิมติดไปด้วยยกเว้นเลขาฯ เพื่อจะได้กันคำว่า"พวกเขาพวกเรา"ในที่ทำงานไว้ก่อน แสดงว่าท่านมั่นใจมากว่าสามารถสร้างพวกใหม่ในที่ทำงานใหม่ได้และที่สำคัญลูกน้องเดิมที่ได้ฝึกไว้ในที่ทำงานเดิมก็จะมีโอกาสโตด้วย

"คนฝึกคน"นี้เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับทุกๆ คนที่ยังทำงานอยู่ก็ว่าได้เพราะถ้าทำงานแล้วไม่รู้จักฝึกคนเพิ่มจะทำให้หนึ่ง"เหนื่อยทั้งชาติ" สอง"ไม่มีโอกาสได้พัฒนาตัวเองเพิ่มจากเดิม" ถ้าได้มีโอกาสก็คงจะนำมาพิมพ์ไว้เป็นบันทึกส่วนตัวของผมเองเพิ่มอีก.. อย่างน้อยคืนนี้ได้นึกถึงผู้ที่มีพระคุณต่อประเทศชาติอีกท่านนึงถือว่าก่อนนอนคืนนี้คุ้มแล้ว..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม