วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Confucius

มีหนังดีที่แนะนำว่าน่าจะหามาดูเรื่องนึงคือ Confucius หรือว่า"ขงจื้อ" ขงจื้อท่านเป็นนักปราชญ์ต้นแบบทางความคิดของชาวจีนและคนในประเทศในแถบเอเชียมาเป็นเวลาช้านาน โดยสรุปแล้วหลักต่างๆ ที่ท่านสอนไว้มีดังนี้

1. ศาสตร์สี่แขนง: วัฒนธรรม การเรียนรู้ ความจงรักภักดีและความซื่อสัตย์
2. แปดหลักการพื้นฐานในการเรียนรู้: สำรวจตรวจสอบ ขยายพรมแดนการเรียนรู้ จริงใจ แก้ไขดัดแปลงตน บ่มความรู้ ประพฤติตามกฎบ้านเมือง ดูแลประเทศ นำความสงบมาสู่โลก
3. ลำดับการเรียนรู้: พิธีกรรม ดนตรี ขี่ม้า ประวัติศาสตร์และคณิตศาสตร์
4. คุณธรรมทั้งสาม: ภูมิปัญญา เมตตากรุณาและความกล้้าหาญ
5. สี่ขั้นตอนหลักการสอน: ตั้งจิตใจไว้บนมรรควิธี ตั้งตนในคุณธรรม อาศัยหลักเมตตาเกื้อกูล สร้างสรรค์ศิลปะใหม่
6. สี่ลำดับการสอน: คุณธรรมและความประพฤติ ภาษาและการพูดจา รัฐบาลและกิจการบ้านเมือง และวรรณคดี
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/ขงจื้อ

ซึ่งในหนังเล่าสรุปไว้ค่อนข้างดีเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของท่าน เมื่อดูจบแล้วก็ได้แง่คิดหลายๆ เรื่องอย่างหนึ่งที่แว่บเข้ามาก่อนเลยก็คือคำสอนของคุณครูของผมที่ว่า "ปัญญาขึ้นอยู่กับการเห็น ยิ่งเห็นมากปัญญาก็มากไปตามที่ตัวเองได้เห็น" เช่นเราได้เดินทางไปในที่ต่างๆ มากๆ สิ่งรอบตัวที่เราได้เห็นก็จะให้ปัญญากับเราในด้านต่างๆ เท่าที่เราจะมองออกได้ด้วยความรู้ที่เป็นต้นทุนเดิมในใจ ถ้าใครมีพื้นฐานความรู้ในตัวมากๆ ปัญญาก็เกิดได้มากถ้าได้เดินทางหรือได้ไปเห็นสิ่งต่างๆ ที่ตัวเองไม่เคยเจอ แล้วความรู้ต่างกับปัญญาอย่างไรล่ะ? ความรู้ก็คือสิ่งที่เราได้เรียนมา ส่วนปัญญาคือสิ่งที่เราเข้าใจในเรื่องนั้นๆ

ขงจื้อท่านได้เดินทางไปตามแคว้นต่างๆ หลังจากที่่ถูกภัยทางการเมืองขับออกจากแคว้นหลู่ซึ่งในระหว่างนั้นก็บันทึกสิ่งต่างๆ ที่ท่านคิดได้เป็นจำนวนมาก และด้วยพื้นฐานความรู้เดิมที่ท่านมีทำให้ปัญญาของท่านแตกฉานมากกว่าในระหว่างที่ท่านรับราชการอยู่ในแคว้นหลู่ซะอีกเนื่องจากว่าไม่ต้องมีอะไรมากวนใจเพราะมีเรื่องอาหารและที่พักเท่านั้นที่ต้องกังวล นอกนั้นก็ใช้เวลาไปกับการเผยแพร่คำสอนไปเรื่อยๆ

สุดท้ายเมื่อบั้นปลายชีวิตขงจื้อก็กลับมายังแคว้นหลู่แผ่นดินที่เป็นปิตุภูมิและมาตุภูมิของท่านโดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสั่งสอนและบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ท่านได้รู้ออกมาเป็นตัวหนังสือ แล้วบันทึกเหล่านั้นก็ถูกส่งผ่านต่อมารุ่นต่อรุ่นในแผ่นดินจีนได้ถูกใช้เป็นหลักการวางรากฐานความคิดปรัชญาและการปกครองของแผ่นดินจนทำให้แผ่นดินจีนยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ด้วยหลักการเหล่านี้จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า"ขงจื้อ"เป็นนักคิดที่เก่งมากท่านหนึ่งของโลก..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม